วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

  เรื่องนี้เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นของประเทศจีนเป็นเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของสังคมออนไลน์โลกสัญชาติจีน ที่ชื่อว่า Sina Weibo 
http://www.it24hrs.com
     สนใจในแอพนี้เพราะประเทศเรานั้นก็เป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนเราจึงควรที่จะศึกษาภาษาของเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียน ซึ่งภาษาจีนนั้นเป็นภาษาที่ 2 ที่ควรเลือกศึกษารองจากภาษาอังกฤษ เพื่อให้เราได้รู้จักศึกษาข้อมูลด้านอื่นของประเทศเพื่อนบ้านได้โดยไม่เกิดปัญหาทางด้านภาษา

       

        Sina Corp ผู้ให้บริการพอร์ทัลที่ใหญ่ที่สุดในจีนได้ออกมาระบุว่าบริษัทยังไม่มีแผนผลักดันให้หนึ่งในบริการของบริษัทอย่าง Sina Weibo ที่แสนจะละม้ายกับ Twitter ให้ทำกำไรได้ภายในปีนี้ แม้จะมียอดผู้ใช้บริการถึง 100 ล้านคนแล้วก็ตาม โดยบริษัทต้องการที่จะสร้างการเติบโตระยะยาวมากกว่า

Sina Weibo เป็นบริการ micro-blogging ที่มีคอนเซ็ปต์เดียวกับ Twitter โดยผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นสั้นๆ และตอบโต้กับผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ ซึ่งยอดผู้ใช้บริการมีการเติบโตที่สูงมาก โดยล่าสุดมีผู้ลงทะเบียนใช้งานทะลุ 100 ล้านคนไปแล้ว และถือว่ามีการเติบโตถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับ 4 เดือนที่แล้ว


Charles Chao, CEO ของ Sina Corp ได้ออกมาให้ข่าวว่า ปี 2011 จะถือว่าเป็นปีแห่งการลงทุนและบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบริการ, การตลาด และการขยายฐานผู้ใช้เพื่อทำให้ความเป็นที่หนึ่งของตนแข็งแกร่งขึ้นในขณะที่ตลาดมีการแข่งขันที่ดุเดือดและซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ดี แม้จะยังไม่เน้นที่การทำกำไร แต่บริษัทก็จะทำการศึกษาถึงหลากหลายรูปแบบในการสร้างรายได้ รวมถึงการโฆษณา, การค้นหาแบบ real time, e-commerce และเกม


http://thumbsup.in.th

ได้ภาษาต่างประเทศที่สำคัญอีกภาษาหนึ่งทำให้เรากล้าที่จะพูดกับชาวต่างชาติเพราะเราได้ฝึกฝนทักษะภาษาจากการที่ใช้แอพพลิเคชั่นนี้จากการที่ได้สนทนาหรือที่เราเรียกกันว่า แชท กับเจ้าของภาษา

                 : http://thumbsup.in.th/2011/03/sina-weibo-100-mil/

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หมดประโยชน์จริงหรือ? (Do you know DIY ?)
                  DIY คือการประดิษฐ์ สร้าง ดัดแปลง แก้ไข สิ่งใดๆก็ตามที่จะสามารถกระทำได้ด้วยตัวเองและสามารถใช้งานได้จริง (ดีหรือไม่ดีอีกเรื่องหนึ่ง) ชิ้นงานที่เกิดขึ้นอาจจะใช้เอง ขาย หรือแจกจ่ายให้แก่คนอื่นก็ได้ และยิ่งถ้าเป็นการนำวัสดุเหลือใช้หรือที่หลายๆคนมองว่าเป็นขยะ กลับมาใช้ให้เป็นงานชิ้นใหม่ได้ก็นับว่าดีมาก บางคนมองว่าการนำของเหลือใช้มาทำชิ้นงานเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า คำ 2 คำนี้สามารถไปด้วยกันได้และมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน

                   DIY หรือ Do It Yourself หมายถึง การสร้างสรรค์ ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ หรือการทำสิ่งใด ๆ ด้วยตัวเอง และสามารถใช้งานได้จริง โดยทั่วไปแล้วงาน DIY จะไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เพราะเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำด้วยตนเองของเจ้าของงานเป็นงานที่บุคคลสามารถทำได้ เช่น งาน DIY ประเภทการตกแต่งภายใน อาจจะมีตั้งแต่การนำวัสดุเหลือใช้มาทำการตกแต่งหรือแม้กระทั่งการออกแบบตกแต่งภายในด้วยตนเอง หรือการทำเสื้อยืดพิมพ์ลายที่ออกแบบเองเพื่อวางจำหน่ายก็ถือได้ว่าเป็นงาน DIY ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
การทำเบาะนั่งจากล้อยางรถยนต์





กระถางดอกไม้หลอดไฟ




                  D.I.Y. เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการหารายได้เสริมเพราะไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงแต่ใช้เทคนิคความคิดสร้างสรรค์และการประณีต เท่านั้นแต่ไม่ยากเท่ากับงานหัตถกรรมต่างๆเพราะเป็นแค่การประยุกต์ใช้ซึ่งเราสามารถทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน D.I.Y. นับเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ซึ่งเราก็เคยเรียนงานประดิษฐ์มาตั้งแต่สมัยประถม และก็เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันถ้าเราสนใจที่จะนำวัสดุต่างๆมาดัดแปลงเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มันนั้น ก็อาจจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของมันไปในตัวด้วย มีคนจำนวนไม่น้อยที่สนใจสิ่งของจำพวก D.I.Y. เพราะเป็นการขาย idea ไม่ว่าคนๆนั้นจะชอบงานศิลปะหรือไม่ชอบก็สามารถสนใจและชื่นชม D.I.Y. ได้เพราะ D.I.Y. เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายเพราะสิ่งของที่เราเห็นประจำล้วนแต่สามารถนำมา D.I.Y. ได้ทั้งนั้น  

อ้างอิง :  http://handmademeaw.blogspot.com/
               http://www.xn--12c0ecxsex2q.com/diy/
โครงงาน คืออะไร

                โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

โครงงานคอมพิวเตอร์ 

     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2.

โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)



1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D

         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น


4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย






5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

อ้างอิงhttp://www.acr.ac.th/acr/ACR_ELearning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

PC เดสก์ทอป HP - ไม่มีเสียงจากลำโพง (Windows 8)

เอกสารนี้ใช้กับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป HP และ Compaq ที่ติดตั้ง Windows 8
ขั้นตอนในเอกสารชุดนี้ระบุวิธีแก้ไขปัญหาเมื่อไม่มีเสียงจากลำโพง
ขั้นตอนที่ 1: การใช้เครื่องมือแก้ไขปัญหาใน Windows 8
เครื่องมือแก้ไขปัญหาใน Windows 8 สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อัตโนมัติสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ เช่น การบันทึกเสียง แม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แต่แนะนำให้ใช้เครื่องมือแก้ไขปัญหาก่อนพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
การเปิดชุดเครื่องมือแก้ไขปัญหา:
  1. เลื่อนเมาส์พอยเตอร์ไปที่มุมด้านล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวา จากนั้นเลือก Control Panel (แผงควบคุม) จากเมนู
    รูปภาพ : Control Panel (แผงควบคุม)
    ภาพแผงควบคุมใน Win 8
  2. จาก System and Security (ระบบและความปลอดภัย) คลิก Find and fix problems (ค้นหาและแก้ไขปัญหา)
    รูปภาพ : ค้นหาและแก้ไขปัญหา
    ภาพแผงควบคุมและฟังก์ชั่นค้นหาและแก้ไขปัญหา
  3. คลิก Hardware and Sound (ฮาร์ดแวร์และเสียง)
    รูปภาพ : หน้าจอแก้ไขปัญหา
    ภาพหน้าจอแก้ไขปัญหาใน Win 8 โดยเลือกฟังก์ชั่นฮาร์ดแวร์และเสียง
ขั้นตอนที่ 2: การตรวจสอบเสียงจากเฮดโฟน
มีหัวต่อเฮดโฟนสองประเภทสำหรับคอมพิวเตอร์ HP แบบแรกรองรับเฉพาะการจ่ายสัญญาณเสียงไปยังเฮดโฟน แบบที่สองรองรับการจ่ายสัญญาณเสียงไปยังเฮดโฟนและการใช้ไมโครโฟน หัวต่อจะมีเครื่องหมายกำกับไว้
  • หัวต่อที่คอมพิวเตอร์ที่ระบุเฉพาะสำหรับเฮดโฟนอย่างเดียว รองรับการจ่ายสัญญาณเสียงเท่านั้นและใช้ได้กับเฮดโฟนสามขาปกติเพื่อจ่ายสัญญาณเสียง
    รูปภาพ : หัวเสียบสามขาแบบปกติ
    ช่องเสียบสามขาแบบปกติ
  • หัวต่อที่คอมพิวเตอร์ที่กำกับไว้สำหรับเฮดโฟนและไมโครโฟน รองรับสัญญาณเสียงและไมโครโฟนเมื่อใช้ร่วมกับเฮดโฟนแบบสี่ขาและไมโครโฟน
    รูปภาพ : หัวเสียบสี่ขา
    ช่องเสียบสี่ขา
    รับฟังเสียงโดยสามารถใช้หัวเสียบกับหัวต่อทั้งสองนี้ การใช้หัวเสียบสี่ขาที่รองรับไมโครโฟนสำหรับหัวต่อสามขาสามารถใช้เพื่อรับฟังเสียงได้แต่จะไม่สามารถใช้ไมโครโฟนได้เนื่องจากหัวต่อคอมพิวเตอร์สามขาไม่รองรับสัญญาณจากไมโครโฟน
ขั้นตอนที่ 3: การตรวจสอบระดับเสียงและค่าการปิดเสียงใน Windows 8
การตั้งค่าระดับเสียงสำหรับอุปกรณ์เสียงมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไปอาจได้รับการปิดใช้งานหรือตั้งไว้เบาเกินไป มีหลายสิ่งที่สามารถเปลี่ยนระดับเสียงได้ดังนี้ ปุ่มควบคุมระดับเสียงสำหรับลำโพงหรือจอภาพของคุณ การควบคุมระดับเสียงของ Windows และการควบคุมระดับเสียงในซอฟต์แวร์เสียง หากการควบคุมระดับเสียงใดๆ เหล่านี้ถูกปิดเสียงไว้หรือตั้งไว้เบาเกินไป จะมีผลกระทบต่อระบบเสียงทั้งหมด
  1. หากลำโพงเพาเวอร์ของคุณมีปุ่มควบคุมระดับเสียง ให้หมุนไปครึ่งหนึ่ง
    รูปภาพ : ปุ่มควบคุมระดับเสียงสำหรับลำโพง (ลำโพงของคุณอาจแตกต่างกัน)
    ปุ่มควบคุมระดับเสียงสำหรับลำโพง (ลำโพงของคุณอาจแตกต่างกัน)
    หากคุณใช้ลำโพงที่อยู่ในจอภาพของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดใช้เสียงสำหรับจอภาพ และตั้งระดับเสียงไว้ครึ่งหนึ่ง ปรับการตั้งค่าเสียงสำหรับจอภาพของคุณโดยใช้ปุ่มบนจอภาพหรือเมนูบนหน้าจอ เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้และการปรับการตั้งค่าลำโพงของจอภาพของคุณ โปรดดูที่เอกสารการสนับสนุนที่มาพร้อมกับจอภาพของคุณ
    รูปภาพ : ปุ่มระดับเสียงและเมนูบนจอภาพ (จอภาพของคุณอาจแตกต่างกัน)
    ปุ่มระดับเสียงและเมนูบนจอภาพ (จอภาพของคุณอาจแตกต่างกัน)
  2. เลื่อนเมาส์พอยเตอร์ไปที่มุมด้านล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวา จากนั้นเลือก Control Panel (แผงควบคุม) จากเมนู
    รูปภาพ : Control Panel (แผงควบคุม)
    ภาพแผงควบคุมใน Win 8
  3. คลิก Hardware and Sound (ฮาร์ดแวร์และเสียง) จาก Sound (เสียง) คลิก Adjust system volume (ปรับระดับเสียงของเครื่อง)
    รูปภาพ : ปรับระดับเสียง
    ภาพตำแหน่งรายการปรับระดับเสียง
    รูปภาพ : มิกเซอร์เสียง
    มิกเซอร์เสียง
  4. ตรวจดูให้แน่ใจว่าระดับเสียงไม่ได้ปิดไว้ โดยดูที่ปุ่มปิดเสียงรูปสี่เหลี่ยมด้านล่างแถบเลื่อนระดับเสียง หากปุ่มนั้นมีวงกลมสีแดงขนาดเล็ก แสดงว่าปิดระดับเสียงไว้
    หากปิดระดับเสียงไว้ คลิกปุ่มปิดเสียงเพื่อเปิดเสียง วงกลมสีแดงบนไอคอนลำโพงอาจหายไปเมื่อไม่ได้ปิดเสียงไว้อีกต่อไป
    ปิดเสียง
    ไม่ได้ปิดเสีียง
  5. หลังจากตรวจสอบว่าไม่ได้ปิดเสียงไว้ ให้ลากตัวปรับระดับเสียงขึ้นไปจนถึงระดับ 75%
  6. เมื่อทำการทดสอบ คลิกแถบเลื่อนระดับเสียง หากคุณได้ยินเสียง ติ๊ง จากลำโพงทั้งหมด คุณได้แก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว
    รูปภาพ : การทดสอบระดับเสียง
    การทดสอบระดับเสียง
    หากยังไม่ได้ยินเสียง ให้ปรับลำโพงที่ใช้เป็นลำโพงเริ่มต้น จากนั้นทำการทดสอบ
ขั้นตอนที่ 4: การตั้งค่าลำโพงเริ่มต้นและการทดสอบใน Windows 8
ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อตั้งค่าและทดสอบลำโพงเริ่มต้น
  1. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวา แล้วเลือก Control Panel (แผงควบคุม) จากเมนู
    รูปภาพ : Control Panel (แผงควบคุม)
    ภาพแผงควบคุมใน Windows 8
  2. คลิก Hardware and Sound (ฮาร์ดแวร์และเสียง) จากนั้นคลิก Sound (เสียง)
    รูปภาพ : หน้าต่างเสียง
    ภาพหน้าต่างเสียงที่เลือกลำโพงและปุ่มคุณสมบัติไว้
  3. หากต่อเฮดโฟนไว้และไม่ได้ใช้เป็นลำโพงหลัก ให้ปลดสายเฮดโฟนตอนนี้ การต่อเฮดโฟนกับคอมพิวเตอร์จะเป็นการปิดเสียงลำโพงอื่น ๆ
  4. ค้นหาประเภทการเชื่อมต่อของคุณ หากมีการเชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งประเภท เช่น HDMI และลำโพง ให้เลือกประเภทการเชื่อมต่อที่ต้องการใช้งาน
    ลำโพง
    หากใช้ลำโพงคอมพิวเตอร์หรือเฮดโฟนปกติ (อุปกรณ์อะนาล็อก) ให้เลือก Speakers (ลำโพง) นี่เป็นค่าเสียงเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และครอบคลุมการใช้งานกับเฮดโฟน ลำโพงเดสก์ทอป และระบบเสียง 5.1 และ 7.1 จอภาพหลายแบบจะมีลำโพงในตัวและรองรับการเชื่อมต่อแบบลำโพงโดยใช้สายสัญญาณเสียงแยกเพื่อต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับจอภาพ (ไม่ใช่การเชื่อมต่อ HDMI)
    สัญญาณดิจิตอลขาออก
    หากต้องการส่งสัญญาณเสียงทั้งหมดจากคอมพิวเตอร์ไปยังลำโพงดิจิตอลหรืออุปกรณ์ดิจิตอล อุปกรณ์เปิดเล่นจะต้องกำกับเป็น Digital Output (สัญญาณดิจิตอล)
    HDMI
    หากคอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อ HDMI และคุณพยายามใช้ลำโพงของโทรทัศน์หรือจอภาพ อุปกรณ์เปิดเล่นจะต้องเลือกไว้เป็น HDMI
  5. จากหน้าต่าง Sound (เสียง) เลือก Playback Device (อุปกรณ์เปิดเล่น) จากนั้นคลิก Set Default (ตั้งค่าเริ่มต้น)
    รูปภาพ : Set Default (ตั้งค่าเริ่มต้น)
    ภาพตัวเลือก Set Default (ตั้งค่าเริ่มต้น) จากหน้าจอ Sound (เสียง) ใน Windows 8
  6. หลังจากเลือก Playback Device (อุปกรณ์เปิดเล่น) เริ่มต้นแล้ว ให้คลิกที่ Configure (กำหนดค่า)
  7. คลิกตั้งค่าลำโพงจาก Audio channels (ช่องสัญญาณเสียง)
    รูปภาพ : หน้าต่าง Speaker Setup (ตั้งค่าลำโพง) ที่เลือกระบบเสียง 5.1 เซอร์ราวด์ (ลำโพงห้าตัวและซับวูฟเวอร์หนึ่งตัว)
    หน้าต่าง Speaker Setup (ตั้งค่าลำโพง) ที่เลือกระบบเสียง 5.1 เซอร์ราวด์ (ลำโพงห้าตัวและซับวูฟเวอร์หนึ่งตัว)
  8. คลิก Test (ทดสอบ) เพื่อส่งสัญญาณเสียงไปที่ลำโพงแต่ละตัว หรือคลิกเลือกลำโพงที่ต้องการส่งสัญญาณเสียง
  9. หากได้ยินเสียงจากลำโพงแต่ละชุดถูกต้อง แสดงว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้ว
    หากไม่มีเสียงจากลำโพงทั้งหมดหรือบางตัว หรือหากมีการเปลี่ยนส่วนกำหนดค่า ให้ตั้งค่าลำโพงต่อโดยคลิก Next (ถัดไป) ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อสิ้นสุดการตั้งค่าลำโพง
    เปิดเล่นเสียง หากยังมีปัญหาระบบเสียง ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อลำโพง
ขั้นตอนที่ 5: การตรวจสอบการเชื่อมต่อลำโพงใน Windows 8
ใช้ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อตรวจสอบว่าสายโพงต่อกับขั้วต่อสัญญาณเสียงถูกต้อง
  1. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวา แล้วเลือก แผงควบคุม จากเมนู
    รูปภาพ : Control Panel (แผงควบคุม)
    ภาพแผงควบคุมใน Win 8
  2. คลิก Hardware and Sound (ฮาร์ดแวร์และเสียง) จากนั้นคลิก Sound (เสียง)
    รูปภาพ : หน้าต่างเสียง
    ภาพหน้าต่างเสียงซึ่งเน้นที่อุปกรณ์ลำโพง
  3. หน้าต่าง Speakers Properties (คุณสมบัติลำโพง) จะมีขั้วต่อกำกับรหัสสีสำหรับลำโพงแต่ละคู่ ใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิจารณาว่าขั้วต่อใดใช้กับชุดลำโพงใด
    รูปภาพ : หน้าต่าง Speakers Properties (คุณสมบัติลำโพง) โดยตั้งค่าเสียง 7:1 เซอร์ราวด์ ไว้
    หน้าต่างคุณสมบัติลำโพง
    ตัวอย่างเป็นภาพการตั้งค่าเสียง 7.1 เซอร์ราวด์ โดย:
    • L R (เขียว, Line Out) ใช้สำหรับชุดลำโพงด้านหน้าซ้ายและขวา (ขั้วต่อสีเขียว โดยมากกำกับเป็น Line out)
    • RL RR (ส้ม) ใช้สำหรับชุดลำโพงหลังซ้ายและขวา
    • C Sub (ดำ) ใช้สำหรับลำโพงตัวกลางและซับวูฟเวอร์
    • SL SR (เทา) ใช้สำหรับชุดลำโพงฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
  4. สายลำโพงแต่ละเส้นจะต้องต่ออยู่กับขั้วต่อที่ถูกต้องที่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์ สีในหน้าต่าง Speaker Properties (คุณสมบัติลำโพง) จะต้องตรงกับสีที่คอมพิวเตอร์
  5. หากใช้ลำโพงระบบ 5.1 หรือสูงกว่านี้ ให้ต่อสายลำโพงเข้ากับ speaker hardware (มักจะอยู่ที่ซับวูฟเวอร์) จากนั้นเทียบสายลำโพงกับขั้วต่อที่คอมพิวเตอร์โดยใช้สีตามที่แสดงในหน้าต่าง Speaker Property (คุณสมบัติลำโพง)
  6. หากมีการเปลี่ยนการเชื่อมต่อลำโพง ให้ตรวจสอบสัญญาณเสียงอีกครั้งตามขั้นตอนในหัวข้อ ตั้งค่าลำโพงเริ่มต้นและทำการทดสอบ
    เปิดเล่นเสียง หากคุณยังไม่ได้ยินเสียง ให้ตรวจสอบเสียงจากเฮดโฟน
ขั้นตอนที่ 6: การตรวจสอบเสียงจากเฮดโฟน
หากยังไม่มีเสียง ให้ตรวจสอบสัญญาณเสียงขาออกโดยใช้เฮดโฟน
  1. ค้นหาสายต่อและปลดสายสัญญาณเสียงจากด้านหลังของคอมพิวเตอร์
  2. เสียบเฮดโฟนโดยตรงที่ช่องสัญญาณลำโพงขาออกด้านหลังคอมพิวเตอร์ ขั้วต่อสัญญาณลำโพงขาออกอาจมีรูปลำโพงหรือวงกลมพร้อมลูกศรชี้ออก หรืออาจกำกับเป็น OUT
  3. ทดสอบเสียงใน Windows ดับเบิลคลิกที่ไอคอนระดับเสียงจากทาสก์บาร์ จากนั้นคลิกที่แถบปรับระดับเสียงจาก Volume Mixer
    รูปภาพ : การทดสอบระดับเสียง
    การทดสอบระดับเสียง
    ทุกครั้งที่คลิกที่แถบควบคุมเสียงหลัก คุณจะได้ยินเสียงบี๊บจากเฮดโฟน
    • หากคุณได้ยินเสียงจากเฮดโฟน แสดงว่าอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ และปัญหาอาจไม่เกี่ยวกับลำโพงหรือสายลำโพง ปลดสายลำโพงและต่อลำโพงเข้าไปใหม่
      หลังจากเสร็จสิ้นให้ทำการทดสอบอีกครั้งโดยใช้ขั้นตอนเดิมข้างต้นกับแถบปรับระดับเสียง หากเสียงยังทำงานไม่ถูกต้องหลังต่อลำโพงใหม่ ให้ลองเปลี่ยนสายลำโพง (หากสามารถทำได้) หรือเปลี่ยนฟิวส์ลำโพงแล้วทำการทดสอบใหม่อีกครั้ง
    • หากไม่ได้ยินเสียงจากเฮดโฟน ให้ตรวจสอบว่าต่อลำโพงกับขั้วต่อถูกต้องแล้วลองใหม่อีกครั้ง หากไม่มีเสียง ให้เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปหากแน่ใจว่าเฮดโฟนต่อกับขั้วสัญญาณเสียงถูกต้องที่ด้านหลังคอมพิวเตอร์
    รูปภาพ : คอมพิวเตอร์ที่มีขั้วต่อสัญญาณเสียง 3 ขั้ว
    รูปภาพ : คอมพิวเตอร์ที่มีขั้วต่อสัญญาณเสียง 6 ขั้ว
ขั้นตอนที่ 7: การคืนค่าไดรเวอร์เสียงใน Windows 8
ไฟล์และค่าเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดปัญหากับระบบเสียงได้ กู้คืนไดร์เวอร์เสียงเพื่อรีเซ็ตค่าเสียงสำหรับฮาร์ดแวร์เสียง และเริ่มการกำหนดค่าเสียงทั้งหมดใหม่ใน Windows
 บันทึก
หากคอมพิวเตอร์อัพเกรดเป็น Windows Vista ก่อนอัพเกรดเป็น Windows 8 คุณอาจไม่สามารถใช้งานคุณสมบัติทั้งหมดของอุปกรณ์เสียงในตัวที่รองรับมาตรฐาน Audio Codex '97 (AD '97) ได้ แก้ไขปัญหาโดยทำการอัพเกรดไดร์เวอร์เสียง ดูในขั้นตอนที่ 7: การอัพเดตไดร์เวอร์เสียง
ย้อนกลับไปใช้ไดร์เวอร์ที่ติดตั้งก่อนหน้าได้ผ่าน Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์) โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวาและเลือก ตัวจัดการอุปกรณ์ จากเมนู
    รูปภาพ : ตัวจัดการอุปกรณ์
    ภาพ Device Manager ใน Windows 8
  2. ดับเบิลคลิกที่ Sound, video and game controllers (ระบบควบคุมเสียง วิดีโอและเกม)
  3. คลิกขวาที่ชื่ออุปกรณ์เสียง จากนั้นเลือก Properties (คุณสมบัติ)
    รูปภาพ : คุณสมบัติอุปกรณ์เสียงจาก Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์)
    ภาพ Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์) คุณสมบัติเสียง
  4. คลิกที่แท็บ Driver (ไดร์เวอร์)
     บันทึก
    อุปกรณ์เสียงจะแตกต่างกันไปตามส่วนกำหนดค่าของคอมพิวเตอร์
  5. คลิก Roll Back Driver (ย้อนไดร์เวอร์)
    รูปภาพ : ตัวอย่างคุณสมบัติอุปกรณ์เสียง - อุปกรณ์เสียงในคอมพิวเตอร์ของคุณอาจแตกต่างไปจากนี้
    ภาพตัวเลือกไดร์เวอร์สำหรับคุณสมบัติอุปกรณ์เสียง
  6. คลิก Yes (ใช่) เพื่อย้อนไปใช้ไดร์เวอร์ก่อนหน้า
  7. การทดสอบเสียง
หากยังไม่มีเสียง ให้ทำการอัพเดตไดร์เวอร์เสียง
ขั้นตอนที่ 8: การอัพเดตไดร์เวอร์เสียง
ไดร์เวอร์เสียงที่อัพเดตแล้วอาจแก้ไขปัญหาได้หากคอมพิวเตอร์มีปัญหาระบบเสียงหลังอัพเกรดระบบปฏิบัติการเป็น Windows 8 หรือหากคอมพิวเตอร์มีปัญหาระบบเสียงในโปรแกรมซอฟต์แวร์บางตัว
ขั้นตอนที่ 9: การตรวจสอบ Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์) ใน Windows 8
หากไม่ได้ยินเสียง ให้ตรวจสอบจาก Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์) เพื่อพิจารณาสถานะของฮาร์ดแวร์เสียง
  1. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ คลิกขวาและเลือก ตัวจัดการอุปกรณ์ จากเมนู
    รูปภาพ : ตัวจัดการอุปกรณ์
    ภาพ Device Manager ใน Windows 8
  2. ดับเบิลคลิกที่ Sound, video and game controllers (ระบบควบคุมเสียง วิดีโอและเกม)
  3. ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ตามการแสดงผลที่แจ้ง:
    • หากอุปกรณ์เสียงไม่อยู่ในรายการและคอมพิวเตอร์มีการ์ดเสียง ให้เสียบการ์ดเสียงใหม่ที่เมนบอร์ด ไปที่ขั้นตอนถัดไปหากยังเกิดปัญหาอยู่
    • หากอุปกรณ์เสียงปรากฏในรายการพร้อมลูกศรลง แสดงว่าอุปกรณ์ปิดใช้งานอยู่ คลิกขวาที่ชื่ออุปกรณ์เสียง จากนั้นเลือก Enable (เปิดใช้) เพื่อเปิดใช้งานอุปกรณ์ใหม่ ไปที่ขั้นตอนต่อไปหากยังมีปัญหาหลังเปิดใช้งานอุปกรณ์แล้ว
      รูปภาพ : การเปิดใช้งานอุปกรณ์เสียงที่ปิดอยู่
      การเปิดใช้งานอุปกรณ์เสียงที่ปิดอยู่
    • หากมีอุปกรณ์เสียงแสดงอยู่ ให้คลิกขวาที่ชื่ออุปกรณ์ จากนั้นเลือก Properties (คุณสมบัติ) เพื่อดูข้อมูลการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมจากหน้าต่าง Device Status (สถานะอุปกรณ์) หาก Device Status (สถานะอุปกรณ์) แจ้งว่าอุปกรณ์ทำงานได้ตามปกติ แสดงว่าปัญหาอาจอยู่ที่การตั้งค่าเสียง ลำโพง หรือสายสัญญาณ
ขั้นตอนที่ 10: การตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของลำโพง (ระบบไฟ ลำโพงและฟิวส์)
ตรวจสอบลำโพงว่าสายไฟต่ออยู่และลำโพงได้รับไฟเลี้ยงหรือไม่
ลำโพงที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงหลายตัว โดยเฉพาะที่มีซับวูฟเวอร์มักจะมีฟิวส์อยู่ด้วย หากไม่มีเสียงมาจากลำโพงแม้เพียงเล็กน้อย ให้ถอดและเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ แม้จะไม่คิดว่าฟิวส์ขาด แต่ขอแนะนำให้เปลี่ยนฟิวส์เพื่อให้แน่ใจที่สุด หากฟิวส์ยังอยู่ในสภาพดี คุณก็จะมีฟิวส์สำรองไว้ใช้
  1. ปิดตัวจ่ายไฟไปยังซับวูฟเวอร์ แล้วถอดปลั๊กออกจากลำโพง
  2. นำฝาครอบฟิวส์ออก แล้วดูที่หลอดแก้ว หากฟิวส์ด้านในแยกกัน มีจุดสีดำหรือรอยไหม้ ให้เปลี่ยนฟิวส์ใหม่ หากฟิวส์ดูดี ให้เปลี่ยนฟิวส์ต่อไปและเก็บไว้ใช้เป็นฟิวส์สำรอง
  3. ซื้อฟิวส์ตัวใหม่ แนะนำให้นำฟิวส์เก่าไปร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเป็นแบบในการซื้อฟิวส์ตัวใหม่ ฟิวส์เก่าใช้เพื่อเทียบกับฟิวส์ใหม่ที่ซื้อจากร้านว่าตรงกัน
  4. ใส่ฟิวส์ใหม่ ปิดฝาครอบฟิวส์ จ่ายไฟเลี้ยง เปิดลำโพงและทดสอบเสียง
เพื่อป้องกันความเสียหายต่อลำโพงและฟิวส์จากการไหม้ในอนาคต ให้พิจารณาข้อต่อไปนี้ขณะใช้คอมพิวเตอร์:
  • ปิดส่วนควบคุมระดับเสียงก่อนส่งไฟเลี้ยงไปยังลำโพง
  • ไม่ควรเพิ่มระดับเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของช่วงแป้นควบคุม ลักษณะเดียวกับระบบโฮมสเตอริโอคุณภาพสูงอื่น ๆ การทำเช่นนี้จะลดคุณภาพของเสียงและทำให้ลำโพงทำงานหนัก คุณภาพเสียงที่ไม่ดีจะเกิดขึ้นหากเพิ่มระดับเสียงไปที่ระดับสูงสุด เสียงที่หลากหลายระหว่างปรับไปที่ระดับสูงสุดจะสร้างภาระหนักให้แก่ลำโพง
เปิดเล่นเสียง หากยังมีปัญหาระบบเสียง ให้ทดสอบฮาร์ดแวร์เสียงโดยใช้ HP Support Assistant ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเอกสารวิธีใช้ในหัวข้อ การใช้ HP Support Assistant (Windows 8)
อ้างอิงข้อมูลโดย : http://support.hp.com/th-th/document/c03572247